วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ

1.1 เส้นทางการเคลื่อนย้าย

การเคลื่อนย้ายของชาวญัฮกุรตามประวัติศาสตร์ที่มีการศึกษามาก่อนหน้า เป็นไปได้ทั้งจากการสันนิษฐานและคำบอกเล่าของชาวญัฮกุร ในยุคอาณาจักรทวารวดีเป็นการเคลื่อนย้ายทั้งจากการหนีสงครามและ/หรือการขับไล่ของชาวเขมรขึ้นไปอยู่บริเวณเทือกเขา แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ต่อมาช่วง พ.ศ. 2460 – 2464 ได้มีการสำรวจพบชาวญัฮกุรในสามพื้นที่ทั้งเทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น และเทือกเขาสันกำแพง ชาวญัฮกุรได้มีการเคลื่อนย้ายด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

1) การเคลื่อนย้ายเพื่อทำการเกษตรยังชีพ

2) การเคลื่อนย้ายเพื่อหนีปัญหาโรคระบาด

3) การเคลื่อนย้ายเพื่อหลบหนีและซ่อนตัวจากโจรปล้นสะดมและ/หรือการเคลื่อนย้ายของคนพื้นราบเพื่อจับจองพื้นที่ทำกิน

ช่องเขาและเส้นทางการค้าในอดีต

เส้นทางการค้าและคมนาคมของชาวญัฮกุรแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง

หลักคือ เส้นทางแรกเป็นเส้นทางไปยังบ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ ซึ่งเป็นตลาดสินค้าที่ใกล้ที่สุด เส้นทางที่สองเป็นเส้นทางลงไปยัง อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรีเพื่อไปหาของป่าและนายฮ้อยใช้ต้อนวัว การทำความเข้าใจเรื่องเส้นทางการค้านี้จะช่วยในการอธิบายการปรากฏขึ้นของหลักฐานทางโบราณคดีในเขต อ.เทพสถิต ได้

ชาวญัฮกุรเป็นกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ราบในเขตอ.บำเหน็จณรงค์เป็นหลักโดยผ่านการค้าขายแลกเปลี่ยน ในสมัยก่อนเมื่อ50 ปีที่แล้ว ช่วงเวลาที่ชาวญัฮกุรจะไปแลกเปลี่ยนสินค้าจะเริ่มต้นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตกอยู่ในราวเดือนธันวาคม-มีนาคมของทุกปี ในบรรดาสินค้าหลายชนิด เกลือเป็นสินค้าหลักที่ชาวญัฮกุรมีความต้องการมากที่สุด เพราะจะเอามาถนอมอาหาร เช่น ปลาร้า หมีร้า และสัตว์ต่างๆที่สามารถหมักดองได้ รวมถึงใช้ล้างพิษของกลอย ซึ่งถือเป็นอาหารสำคัญอย่างหนึ่งของชาวญัฮกุร (สัมภาษณ์ นายเปลี่ยน เย็นจัตุรัส 2555)ส่วนสินค้าที่ชาวญัฮกุรนำ ไปแลกเปลี่ยนนั้น ได้แก่ ขี้ไต้น้ำผึ้ง พืชไร่ ระหุง เดือย หวาย พริก ไม้สำ หรับทำ เกวียนเช่นไม้พะยุง ไม้เหลือง ไม้คูน เป็นต้น ของทั้งหมดจะหาบไปขายบ้าง ใส่เกวียนไปบ้าง โดยแลกเอาเกลือเสื้อผ้า ถ้วยชาม ไห น้ำอ้อย มะพร้าว ยา และกระเทียม จากร้านค้าชาวจีน

ที่บ้านชวนกลับมาที่หมู่บ้าน (สัมภาษณ์ นายสุกิจ เชิดชูณรงค์ 2558)

ในกรณีของหมู่บ้านไร่พบว่าเส้นทางการเดินทางจากบ้านไร่ไปยังบ้านชวนจะต้องผ่านบ้านวังอ้ายคงแล้วไปยังซับยาง จะหยุดพักที่นี่หนึ่งคืนเพราะมีแหล่งน้ำและลานหินเหมาะแก่การพัก รุ่งเช้าจะเดินทางไปยังซับฉนวนและถึงบ้านชวนในที่สุด การเดินทางแต่ละครั้งจะรวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ20 คนขึ้นไป ชาวบ้านแต่ละคนจะสะพายถุงหมาก ถุงยา และกระบอกน้ำไปด้วย (สัมภาษณ์ นางลึ้ม โคกสันเทียะ 2557)

ในทางตรงกันข้าม เส้นทางลงไปยัง อ.ลำสนธิ มีช่องเขาลงได้หลายช่องทาง แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ “ช่องชิด” หรือคนในเขต อ.ลำสนธิ เรียกว่า “ช่องบ้านไร่” บ้างเรียกว่า “ช่องหินลาด” เพราะความลาดชันน้อยปกติแล้วชาวญัฮกุรใช้เส้นทางนี้เพื่อไปหาใบพลูและหน่อไม้ในเขตป่าซับลังกา นอกจากนี้ในยามที่ข้าวขาดแคลนก็จะเดินทางไปยังเมืองศรีเทพจ.เพชรบูรณ์ หรือวิเชียรบุรี (สัมภาษณ์ นายยัง ยี่จัตุรัส 2556; สัมภาษณ์ นายอ๊าด ยุ่มจัตุรัส 2556, 2557) จากการสำรวจในพื้นที่ลำสนธิพบว่าเมื่อเดินลงมาจากช่องชิดแล้วเมื่อพบกับที่ราบแคบๆ จะมีทางเดินไปทางตะวันตกผ่านช่องเขาหนองปล้อง ซึ่งห่างออกไปจากช่องเขาหนองปล้องราว 20 กิโลเมตรนอกจากชาวญัฮกุรที่ใช้ช่องชิดแล้ว เมื่อ 70-80 ปีที่แล้ว นายฮ้อยทั้งจากขอนแก่นและจากบำ เหน็จณรงค์จะต้อนวัวผ่านทางช่องชิด นายพนม จิตร์จำนงค์ เล่าให้ฟังว่า ปู่ของนายพนมเป็นนายฮ้อยโดยจะต้อนวัวจากบ้านชวนมายังบ้านไร่ เพื่อไปยังด่านกักสัตว์ที่โคกคลี (ปัจจุบันมีชื่อว่า ด่านกักกันสัตว์ลพบุรี) จากนั้นจะต้อนวัวต่อไปยังชัยบาดาล สระบุรี แล้วไปยังอยุธยา(สัมภาษณ์ นายพนม จิตร์จำ นงค์ 2556)

สิ่งที่น่าสนใจของเส้นทางนี้คือใกล้กับด่านกักสัตว์ที่โคกคลีเป็นที่ตั้งของปราสาทเขมรก่อด้วยอิฐมีชื่อในท้องถิ่นว่าปรางค์นางผมหอม เป็นศิลปะแบบบาปวน (เอนก สีหามาตย์ และคณะ 2530: 35-51) ซึ่งสะท้อนว่าเป็นชุมชนโบราณ ในอดีตเมื่อเดินทางลงจากช่องชิดแล้วนายฮ้อยจะแวะพักที่บ้านหนองปล้อง จากนั้นจะเดินทางต่อไปพักบริเวณด่านกักสัตว์โคกคลี (สัมภาษณ์ นายบุญช่วย ชำ นาญดี 2556) รวมระยะทางประมาณ 27กิโลเมตร นอกจากนี้ปรางค์นางผมหอมยังตั้งอยู่ใกล้กับช่องเขาสำคัญอีกแห่งมีชื่อว่าช่องสะพานหิน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างไปประมาณ 6กิโลเมตร ช่องเขานี้พวกนายฮ้อยสมัยก่อนนิยมใช้เป็นเส้นทางต้อนวัวเช่นกัน


ร่องรอยชุมชนโบราณในเขต อ.เทพสถิต

วัฒนธรรมย่อมสัมพันธ์กับตัวคนไม่มากก็น้อย เพราะคนคือผู้ขนถ่ายวัฒนธรรมจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ดังนั้น ถ้าชาวญัฮกุรคือคนในวัฒนธรรมทวารวดีที่อพยพหนีขึ้นมาบนภูเขาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-17 ย่อมจะต้องพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ประติมากรรมดินเผา ภาชนะดินเผา (เช่น หม้อมีสัน) ธรรมจักร พระพุทธรูป กระทั่งใบเสมาแบบทวารวดี

ผลจากการสำ รวจในพื้นที่ อ.เทพสถิต ไม่เคยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอายุมากกว่าพุทธศตวรรษที่ 17 หรือที่จัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีเลย พบเพียงหลักฐานที่มีอายุอ่อนลงมามากกว่านั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 สมัยหลัก คือ สมัยแรกเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-19 จำ นวน 4 แห่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบนเส้นทางเกวียนใกล้ช่องเขาชิด, แหล่งโบราณคดีไร่นายประยูร, แหล่งโบราณคดีที่ราบเหนือถ้ำคาว, และแหล่งโบราณคดีห้วยหินลับ แหล่งโบราณคดีกลุ่มนี้ทั้งหมดอยู่ในเขตบ้านไร่ โบราณวัตถุประเภทเด่นคือเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมร ในที่นี้จะนำ มาวิเคราะห์ร่วมกับแหล่งโบราณคดีที่พบในเขต อ.ลำสนธิ และอ.บำเหน็จณรงค์ ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 ด้วย


สมัยที่สองเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25 จำ นวน 5 แห่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านวังอ้ายโพธิ์, แหล่งโบราณคดีบ้านวังตาเทพ, แหล่งโบราณคดีซับหวาย (จะระรี), แหล่งโบราณคดีไร่ลุงบุญ,และแหล่งโบราณบ้านเทพพนา โบราณวัตถุประเภทเด่นคือเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ชิง และเหรียญสมัย ร.5

ทั้งหมดเป็นแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบใหม่จากการศึกษาของโครงการนี้ โดยแหล่งโบราณคดีข้างต้นจะนำ มาวิเคราะห์ร่วมกับแหล่งโบราณคดีอื่นๆที่กรมศิลปากรและนักวิชาการท่านอื่นๆ ได้เคยศึกษาไว้แล้ว มีรายละเอียดดังนี้

สมัยแรก แหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19

จากข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่าจะเห็นได้ว่า ช่องชิดใกล้กับบ้านไร่เป็นเส้นทางที่ชาวญัฮกุรและนายฮ้อยใช้เดินทางเพื่อขึ้นลงระหว่างที่ราบสูงโคราชกับที่ราบภาคกลาง ดังนั้นจึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำ ให้พบแหล่งโบราณคดีบริเวณดังกล่าว

แหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้กับช่องชิดมากที่สุดคือ แหล่งโบราณคดีบนเส้นทางเกวียนใกล้ช่องชิด อยู่ห่างจากช่องชิดไปทางทิศตะวันออกเพียง 600เมตร ลักษณะเป็นเนินเตี้ยขนาด 60x70 เมตร และมีแหล่งน้ำอยู่ไม่ห่างกันมากนัก หลักฐานที่พบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินเป็นเตาท้องถิ่น เศษเครื่องปั้นดินเผาเขมรจากแหล่งเตาบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เศษเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (Song dynasty) ทั้งเคลือบใสสีขาว บางชิ้นมีลายปั๊มนูนเป็นของจากเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจี้ยน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และบางชิ้นเป็นเคลือบสีเขียวแบบเซลาดอนจากแหล่งเตาหลงเฉวียน มณฑลฝูเจี้ยน ปลายสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และชิ้นส่วนของกระปุกเคลือบสีน้ำตาลจากเตาสือเจ้า มณฑลฝูเจี้ยน สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 สำ หรับการกำ หนดอายุและเตาข้างต้นได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร ผู้อำ นวยการพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสำ หรับแหล่งโบราณคดีแห่งอื่น ได้แก่ แหล่งโบราณคดีไร่นายประยูร แหล่งโบราณคดีที่ราบเหนือถ้ำคาว และแหล่งโบราณคดีห้วยหินลับ พบเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเช่นกัน แต่พบในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับแหล่งโบราณคดีบนเส้นทางเกวียนใกล้ช่องชิด ในขณะที่เครื่องปั้นดินเผาแบบเขมรจากแหล่งเตาบ้านกรวดกลับพบในปริมาณมากโดยกำ หนดอายุว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 (พิพัฒน์ กระแจะจันทร์2558: 171-175)

ถ้าสมมติให้พื้นที่บริเวณบ้านไร่เป็นจุดศูนย์กลางจะพบแหล่งโบราณคดีที่มีอายุอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทางด้านทิศตะวันตกในเขต อ.ลำ สนธิ และกลุ่มทางทิศตะวันออกในเขตอ.บำเหน็จณรงค์กลุ่มทางทิศตะวันตก มีแหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกคือ แหล่งโบราณคดีโคกโบราณ ตั้งอยู่ใกล้กับทางลงจากช่องชิดและอยู่ติดลำน้ำลำสนธิ หลักฐานที่พบได้แก่ เศษเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมรจำ พวกไหเคลือบสีน้ำตาล (อำ พัน กิจงาม 2550: 68-78) คงมีอายุราวพุทธศตวรรษที่17-18 คาดว่าเป็นที่พักเมื่อเดินลงมาจากภูเขา

แห่งที่สองคือ ปรางค์นางผมหอม จากการขุดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2530พบเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมรมีทั้งเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียวทั้งหมดคงมาจากแหล่งเตาบ้านกรวด และเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือโดยเป็นเครื่องถ้วยแบบชิงไป๋ มีอายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 17 และเครื่องปั้นดินเผาราชวงศ์ซ่งใต้ (เอนก สีหามาตย์ และคณะ 2530: 35-51)ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 และใช้งานจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18-19 กล่าวได้ว่าปรางค์นางผมหอมนับเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวในเขตแนวเทือกเขาพังเหย แสดงว่าต้องเป็นชุมชนการค้าที่ตั้งรับการเดินทางระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงโคราช

ส่วนกลุ่มทางทิศตะวันออก ในเขต อ.บำ เหน็จณรงค์ มีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ โบราณสถานในวัฒนธรรมเขมร ได้แก่ ปรางค์บ้านตาล, กู่บ้านหัวสระ, และโบราณสถานสบน้ำ มัน ทั้งหมดมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 กลุ่มที่สองเป็นใบเสมาซึ่งอาจเป็นศิลปะทวารวดีที่วัดหนองอีหล่อ แต่ก็ยากจะกำ หนดอายุ อย่างไรก็ตาม โบราณสถานที่สำคัญที่สุดคือปรางค์บ้านตาล เพราะตั้งอยู่ใกล้กับบึงอำพันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ที่ใหญ่ที่สุดในเขตบำ เหน็จณรงค์และส่งเข้าไปขายที่บ้านชวน การทำ เกลือที่บ้านตาลยังคงสืบทอดกรรมวิธีแบบโบราณ และทำ ในช่วงฤดูแล้ง

จากหลักฐานที่นำ เสนอจะเห็นได้ว่าแหล่งโบราณคดีในเขตบ้านไร่ตั้งอยู่ในพื้นที่กึ่งกลางของเส้นทางคมนาคมและการค้าจากที่ราบสูงโคราชไปยังเมืองศรีเทพและปรางค์นางผมหอม ทั้งนี้เพราะมีช่องเขาคือช่องชิดที่เป็นจุดผ่านแดนที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าพื้นที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างเขตบ้านไร่ไปยังบ้านตาลยังไม่มีการสำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 เลย ซึ่งอาจเป็นเพราะยังสำรวจไม่ทั่วถึง ในอนาคตควรมีการทำ งานเพิ่มเติมเพื่อหาเส้นทางการค้าในอดีตให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สมัยที่สอง แหล่งโบราณคดีที่มีอายุครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25

ส่วนใหญ่แหล่งโบราณคดีที่มีอายุครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นบ้านเก่าหรือบ้านเดิมของชาวญัฮกุรก่อนที่จะย้ายมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านใหม่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็มีความสำคัญเพราะช่วยทำ ให้เข้าใจการกระจายตัวของชาวญัฮกุรในอดีตและเส้นทางคมนาคมจากการสำรวจพบหมู่บ้านเก่าทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านวังอ้ายโพธิ์ แหล่งโบราณคดีบ้านวังตาเทพ แหล่งโบราณคดีไร่ลุงบุญและแหล่งโบราณคดีบ้านเทพพนา นอกจากนี้ยังพบสถานที่เก็บไหบรรจุอัฐิของคนที่แหล่งโบราณคดีซับหวาย ซึ่งเป็นสุสานของชาวญัฮกุรที่บ้านไร่แต่เลิกใช้กันมาราว 40 ปีแล้ว

สำหรับที่บ้านวังอ้ายโพธิ์ บ้านวังตาเทพ และบ้านเทพพนา พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินจากแหล่งเตาพื้นเมือง และพบเศษเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ชิง มีทั้งที่ผลิตจากกลุ่มเตาไต้เจียหน่ง เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี และจากแหล่งเตาชิงซี มณฑลกวางต่ง อายุราวครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 25 ตกอยู่ในระหว่างรัชศกถงจื้อถึงรัชศกกวงสู หรือเทียบกับไทยก็ตกอยู่ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พิพัฒน์กระแจะจันทร์ 2558)

แหล่งที่มาของเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ชิงนี้เป็นไปได้ว่ามาจากบ้านชวน จากการสัมภาษณ์ สุกิจ เชิดชูณรงค์ อายุ 63 ปี เป็นเจ้าของร้านค้าที่บ้านชวนได้เล่าว่า บ้านชวนเป็นตลาดการค้ามานานแล้ว โดยมากเป็นพ่อค้าชาวจีน เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ตั้งรกรากเกิน 100 ปี เมื่อ 50-70 ปีก่อนบ้านของนายสุกิจทำ เสื้อผ้าขายให้กับ “คนดง” สินค้าที่พวกคนดงเอามาขายแลกเปลี่ยนโดยมากมีหนังสัตว์ กระดองเต่า ขี้ไต้ พวกคนดงไม่ค่อยมีเงินจึงจำ เป็นจะต้องแลกเอาสินค้าต่างๆ แทนการใช้เงิน ส่วนสินค้าที่คนดงซื้อกลับไปนอกจากเสื้อผ้าแล้วก็มีเกลือ ยาแก้ไข้ น้ำ มันก๊าด ไม้ขีดไฟ มีเครื่องถ้วยจีนซึ่งมีร้านขายอยู่ 2 ร้าน ร้านหนึ่งมีชื่อว่าร้านเจ๊กเลา อีกร้านชื่อว่าเจ๊กสุข ร้านทั้งสองแห่งตั้งมาเกือบ 100 ปี เครื่องถ้วยและสินค้าต่างๆ ในหมู่บ้านชวนจะซื้อมาจากโคราชเพียงแห่งเดียว ซึ่งทางโคราชก็รับซื้อสินค้ามาจากกรุงเทพฯอีกทอดหนึ่ง (สัมภาษณ์ นายสุกิจ เชิดชูณรงค์ 2558)

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวญัฮกุรมีความสัมพันธ์กับคนในเขตบ้านชวนอย่างมาก และทำ ให้บ้านชวนมีฐานะเป็นตลาดการค้าตอนในของแผ่นดิน โดยเป็นทั้งแหล่งรับซื้อและขายสินค้า เพื่อส่งไปขายต่อยังนครราชสีมาอีกทอดหนึ่ง